ยินดีต้อนรับ เข้าสู่บล๊อกของ นางสาวลลิตา พันธุ์ชุม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะวิทยาศสาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Assignment  3 


คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์

ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง

ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ 

หมายถึง  ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ

ส่วนที1หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)   

เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณ

เข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอรืทำงานตามความต้องการ ได้แก่

- แป้นอักขระ (Keyboard)

-แผ่นซีดี (CD-Rom)

-ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น


ส่วนที2 หน่วยประมวลผลกลาง   (Central Processing Unit)

ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ

ส่วนที่3 หน่วยความจำ  (Memory Unit)
ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล

ส่วนที่4  หน่วยแสดงผล  (Output Unit)
ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว

ส่วนที่5  อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ   (Peripheral Equipment)
เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ เครือข่าย เป็นต้น


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์


1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
2.      มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3.      มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.      เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5.    สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน

ระบบคอมพิวเตอร์


หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี  ระบบทะเบียนราษฎร์  ระบบทะเบียนการค้า  ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น 
      การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้ 

1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล (Data)
4.บุคลากร (Peopleware)

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้  ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ 

    1.ส่วนประมวลผล (Processor)
    2.ส่วนความจำ (Memory)
    3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input-Output    
       Devices)
    4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)

ส่วนที่1 CPU

CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง  
        มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวนผลและเปรียบเทียบข้อมูล โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์(Hertz)เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1 จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)

ส่วนที่2 หน่วยความจำ (Memory)

จำแนกออกเป็น  2 ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)

หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
ชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยCPUทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำการทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผล        
และเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วยความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือจำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น

หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU  มีความหมาย
ทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่าง คือ
ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์






ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่




1.หน่วยความจำหลัก
แบ่งได้ 2  ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ “แรม” (RAM)และหน่วยความจำแบบ”รอม”(ROM)
1.1 หน่วยความจำแบบ “แรม”   (RAM=Random Access Memory) 
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)


ลักษณะของหน่วยความจำ RAM










1.2 หน่วยความจำแบบ “รอม” (ROM=Read Only Memory) 
เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)

ชิปหน่วยความจำแบบรอม (ROM Chip)






หน่วยความจำสำรอง ( (((Secondary Memory Unit
หน่วยความจำสำรอง  หรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่องคอมพิมเตอร์แล้ว หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลักคือ
1--ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง


ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง 

หน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเถทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของ
สื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ  


ส่วนแสดงผลข้อมูล
ส่วนแสดงผลข้อมูล   คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้  อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่  จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์( Printer)เครื่องพิมพ์ภาพ Ploter  และ ลำโพง (Speaker)  เป็นต้น 

monitor

plotter

printer

speaker

บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE) 

บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือ หลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของ หน่วยงานคอมพิวเตอร์


ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE) 

1.  ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน 2. 
2.  ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม 3. 
3.  ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ

บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์

1.  หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager)
2.  หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)
3.  โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4.  ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)
5.  พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)     

นักวิเคราะห์ระบบงาน   
ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่            
โปรแกรมเมอร์                
นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม                    
วิศวกรระบบ                
ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ                    
พนักงานปฏิบัติการ                
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์


อาจแบ่งประเภทของบุคลากรคอมพิวเตอร์เป็นระดับต่างๆได้ 4 ระดับดังนี้

1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) 
คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) 
คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้
    เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) 
คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User) 
คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

               

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555


Assignment  2


Search  Engine


ความหมายของ  Search  Engine


Search  Engine  คือ  โปรแกรมที่ออกแบบมาเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการค้นหาคำสั้นๆหรือที่เรียกว่า   keyword   หรือคำค้นต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งข้อมูลนั้นอาจอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์  ไฟล์เอกสาร  ไฟล์รูปภาพ  สื่อมัลติมีเดีย  ไฟล์บีบอัด  และรูปแบบอื่น ๆ ที่สามารถบันทึกเป็นเอกสารออนไลน์ได้    โดยข้อมูลการเก็บรายชื่อเว็บไซต์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของเว็บไซต์และนำมาจัดเก็บไว้ใน   server   เพื่อให้สามารถค้นหาและแสดงผลได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น การทำงานของ  Search Engine   นั้นจะทำงานก็ต่อเมื่อมีคนป้อนคำหรือที่เรียกว่า keyword ลงไปใน   Search Engine  นั้นๆจากนั้น  Search Engine ก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมาการใช้ search engine ที่ดีนั้นคือการค้นหาข้อมูลที่ตรงและถูกต้องตามที่เราต้องการ

ประโยชน์ของ  Search  Engine 


ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้สะดวก  รวดเร็ว  และถูกต้อง
ค้นหาข้อมูลแบบเจาะลึกได้  เช่น  blog  seo  หนัง  รูป  หนังสือ  เป็นต้น
รองรับการค้นหาได้หลายภาษา

        Google.com  เป็น  Search  Engine  ตัวหนึ่ง ซึ่งหากเราจะเรียกแบบบ้านๆ  ตามประสาคนท่องเว็บแล้ว  Search  Engine  ก็คือเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตนั่นเอง  นอกจาก  Google  แล้วยังมี  Search  Engine  อีกหลายๆ  ที่ชื่อดัง  ที่เราพอจะคุ้นหูคุ้นตาอยู่บ้าง  เช่น  Yahoo  MSN  เป็นต้น
        ซึ่งในปัจจุบัน  Search  Engine  ที่มีคนใช้เยอะที่สุดก็คือ  Google  นั่นเอง  ซึ่งเป็น  Search  Engine  ที่มีคนใช้บริการเยอะมาก  ทั้งๆ  ที่มีให้บริการมาไม่กี่ปีนี่เอง  เปิดมาไม่นานก็แซงหน้าขาใหญ่เดิมอย่าง  Yahoo  ไปชนิดที่เรียกว่ามองไม่เห็นฝุ่น  ก็เพราะว่าด้วยรูปแบบที่ใช้งานง่าย  และรวดเร็วนั่นเอง  แถมเป็นภาษาไทยอีกด้วย ยิ่งถูกใจคนไทยเป็นอย่างยิ่ง
        ซึ่งปรากฏการณ์  Google  ฟีเวอร์นี่เอง  ที่ทำให้คนส่วนหนึ่ง  ซึ่งส่วนใหญ่เป็น  Webmaster  หันมาทำ  SEO  เจาะที่  Search  Engine  ที่มีชื่อว่า  Google  กันอย่างถล่มทะลาย

ประเภทของ  Search  Engine


1.  แบบอาศัยการเก็บข้อมูลเป็นหลัก
        หลักการนี้เป็นการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า  Crawer - Based  Search  Engine  เป็นเครื่องมือที่ทำการบันทึกและเก็บข้อมูลเป็นหลัก  ซึ่งเป็นประเภท  Search  Engine  ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน  ซึ่งการทำงานประเภทนี้  จะใช้โปรแกรมตัวเล็กๆ  ที่เรียกว่า  Web  Crawer  หรือ Spider  หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  Search  Engine  Robots  หรือที่ีเรียกสั้นๆ ว่า  บอท  ในภาษาไทย  www  คือเครือข่ายใยแมงมุม  ตัวโปรแกรมตัวเล็กๆ  ตัวนี้ก็คือแมงมุมนั่นเอง  โดยเจ้าแมงมุมตัวนี้จะทำการไต่ไปยังเว็บไชต์ต่างๆ  ทั่วโลกอินเตอร์เน็ต  โดยอาศัยไต่ไปตาม  URL  ต่างๆ ขึ้นอยู่กับ  Search  Engine  แต่ละที่ว่าต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง  แล้วเก็บลงฐานข้อมูล  การใช้โปรแกรมกวาดข้อมูลแบบนี้  จะทำให้ข้อมูลมีความแม่นยำ  และสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้เร็วมาก  Search  Engine  ที่เป็นประเภทนี้ เช่น  Google  Yahoo  MSN

2.  แบบสารบัญเว็บไชต์
        Search  Engine  ที่เป็นแบบนี้มีอยู่หลายเว็บไชต์มาก  ที่ดังที่สุดในเมืองไทยก็คือ  Sanook.com  หรือ  Truehits.com  เป็นต้น  ที่เราจะสังเกตเห็นจาก  Search  Engine  ประเภทนี้ก็คือ  ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูลที่แสดงให้เราเห็นทั้งหมด  ว่ามีเว็บอะไรอยู่บ้างในฐานข้อมูล  ซึ่งแตกต่างจากประเภทแรก  ที่หากคุณไม่ค้นหาโดยใช้คำขึ้นต้น  หรือ  Keyword  แล้ว  คุณจะไม่มีทางทราบเลยว่ามีเว็บไซต์อะไรอยู่บ้าง  และมีเว็บอยู่เท่าไหร่แบบสารบัญเว็บไซต์จะแสดงข้อมูลที่รวบรวมเว็บไซต์ที่มีทั้งหมดในฐานข้อมูล  และจะแบ่งเป็นหมวดหมู่  และอาจมีหมวดหมู่ย่อย  ซึ่งผู้ค้นหาข้อมูลสามารคคลิกเข้าไปดูได้
        หลักการทำงานแบบนี้  จะอาศัยเพิ่มข้อมูลจากเจ้าของเว็บไซต์ต่างๆ  ที่ต้องการประชาสัมพันธ์เว็บ  หรืออาจใช้เจ้าหน้าที่ดูแล  ส่วน Search  Engine  เป็นผู้หาข้อมูลมาเพิ่มในฐานข้อมูล  ซึ่งข้อมูลในส่วนของสารบัญเว็บไซต์จะเน้นในด้านความถูกต้องของฐานข้อมูล  ซึ่งข้อมูลเว็บไซต์ที่ถูกเพิ่มเข้ามาจะถูกตรวจสอบและแก้ไขจากผู้ดูแล

3.  แบบอ้างอิงในคำสั่ง
        Search  Engine  ประเภทนี้จะอาศัยข้อมูลใน  Meta  tag  ซึ่งเป็นส่วยของข้อมูลที่อยู่ในแท็ก  HEAD  ของภาษา  HTML  ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลกับ  Search  Engine  Robots   Search  Engine  ประเภทนี้ไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง  แต่จะอาศัยข้อมูลจาก  Search  Engine  Index  Server  ของที่อื่นๆ  ซึ่งข้อมูลจะมาจาก  Server  หลายๆที่  ดังนั้นจึงมักได้ผลลัพธ์จากการค้นหาที่ไม่แม่ยำ

Search  Engine  ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน  ได้แก่


         http://www.sanook.com
               http://www.sanook.com/
         http://www.google.com
               https://www.google.co.th/
         http://www.yahoo.com
               http://www.yahoo.com/
         http://www.msn.com
               http://th.msn.com/?rd=1&ucc=TH&dcc=TH&opt=0&tc=1
         http://www.live.com
               https://login.live.com/login.srf?wa=wsignin1.0&rpsnv=11&ct=1355467277&rver=6.1.6206.0&wp=MBI_SSL_SHARED&wreply=https:%2F%2Fmail.live.com%2Fdefault.aspx%3Frru%3Dhome%26livecom%3D1&lc=1054&id=64855&mkt=th-th&cbcxt=mai
         http://www.baidu.com  (  Search  Engine  อันดับ 1 ของประเทศจีน )
               http://www.baidu.com/
         http://www.ask.com
               http://www.ask.com/






วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

-     รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน                                              
-     พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
-     การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน

เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณธการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ  ดังต่อไปนี้คือ

1.     เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
        เช่น  ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ  ,  กล้องดิจิทัล  ,  กล้องถ่ายภาพวิดีทัศน์  ,  เครื่องเอ็กซเรย์
2.     เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล
        เป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ  เช่น  เทปแม่เหล็ก  ,  จานแม่เหล็ก  ,  จานแสงหรือจานเลเซอร์  ,  บัตรเอทีเอ็ม
3.     เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล
        ได้แก่  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  และ  ซอฟแวร์
4.     เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล
        เช่น  เครื่องพิมพ์  ,  จอภาพ  ,  พลอตเตอร์ ฯลฯ
5.     เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร  
        เช่น  เครื่องถ่ายเอกสาร  ,  เครื่องถ่ายไมโครฟิลม์
6.     เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรื่อสื่อสารข้อมูล 
        ได้แก่  ระบบโทรคมนาคมต่างๆ  เช่น  โทรทัศน์  ,  วิทยุกระจายเสียง  ,  โทรเลข  ,  เทเล็กซ์   และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และระยะไกล

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

        มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆ  ทั้งในทางธุรกิจ  และทางการศึกษา  ดังตัวอย่างเช่น
-       ระบบเอทีเอ็ม
-       การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต
-       การลงทะเบียนเรียน

พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ                                 


พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคิออะไร

        การแสดงออกทางความคิดและความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท  ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดหา  จัดเก็บ  สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ  ได้แก่  ภาพ  ข้อความ  หรือตัวอักษร  ตัวเลข  และภาพเคลื่อนไหว  เป็นต้น


การใช้อินเตอร์เน็ต

        งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา  พบว่า
นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง  เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น  ในขณะที่การใช้อินเตอร์เน็ตของนัก
ศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเรียนรู้  การติดตามข่าวสารของสถานศึกษา

ใช้อินเตอร์เน็ต  ทำอะไรได้บ้าง ?
งานวิจัยชี้ว่า  นักศึกษาใช้อินเตอร์เน็ตในการสนทนากับเพื่อนๆ  และการค้นข้อมูลจากห้องสมุด

นอกจากนี้งานวิจัยยังชี้ว่า  นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆ  เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประกอบการทำรายงาน

สถานที่ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
งานวิจัยพบว่า  นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน  และมีการใช้อินเตอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน

นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการใช้หรือมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อยในรูปแบบไหนบ้าง ?
งานวิจัยชี้ว่า  นักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อย  ได้แก่  ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  การเรียนรู้แบบออนไลน์ ( e-learning )  วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย  ( video  on  Demand )  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
-       การเรียนรู้แบบออนไลน์ ( e-learning )
-       บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ( Computer  Assisted  Intruction - CAI )  หรือ   ( Computer  Aide  Intruction  )
-       วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย  ( Video  on  Demand  -  VOD)
-       หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ( e - Books )
-       ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ( e - Library )

การเรียนรู้แบบออนไลน์ ( e-learning )

        เป็นการศีกษา  เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  อินเตอร์เน็ต  ( Internet )  หรือ  อินทราเน็ต  ( Intranet )  เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองตามความสามารถและความสนใจของตน  โดยเนื้อหาของบทเรียนประกอบด้วย  ข้อความ  รูปภาพ  เสียง  วิดืโอและมัลติมีเดียอื่นๆ  จะถูกส่งไปยังผู้เรืยนผ่านเว็บบราวเซอร์  ( Web Browser )  โดยผู้เรียนผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน  สามารถติดต่อปรึกษา  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้  เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติโดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารมี่ทันสมัยสำหรับทุกคน  โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่  ( Learning  for  all :  anyone  , anywhere  and  anytime )

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ( Computer  Assisted  Intruction - CAI ) 

        คือบทเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่นำเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้างและพิจรณามาเป็นอย่างดี โดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ  แบบฝึกหัด  การทดสอบและการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามารถของตนเอง  เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมีเดีย  ซึ่งประกอบด้วย  อักษร  รูปภาพ  เสียง  หรือ  ทั้งภาพทั้งเสียง  ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการนำหลักการเบื้องต้นทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบโดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้  ( Learning  Behavior )  ทฤษฎีการเสริมแรง  ( Reinforcement  Theory )  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขปฏิบัติ  ( Operant  Conditioning  Theory )  ซึ่งถือว่าความสัมพันธ์ระหว่าสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีผลย้อนกลับทันทีและเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามความต้องการและความสามารถของตน

วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย  ( Video  on  Demand  -  VOD)

        คิอระบบการเรียกดูภาพยนต์ตามสั่งที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูภาพยนต์หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการ  ตามสโลแกนที่ว่า  " To view what one wants , when one wants "   โดยสามารถใช้งานนี้ได้จากเครือข่ายสื่อสาร  ( Telecommunication  Networks )  ผู้ใช้งานซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย  ( Video  Client )  สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ทุกเมือตามต้องการและสามารถควบคุมข้อมูลวิดีโอนั้นๆ  โดยสามารถย้อนกลับ ( Rewind )  หรือกรอไปข้างหน้า      ( Forward )  หรือหยุดชั่วคราว  ( Pause )  ได้  เปรียบเสมือนการดูวิดีโอที่บ้านนั่นเองทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลเดียวกัน  กล่าวคือสามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน  หรือต่างกันได้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ( e - Books )

        คือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทางอินเตอร์เน็ต  โดยมีเครื่องมือที่จำเป็นในการอ่านหนังสือประเภทนี้คือ  ฮาร์ดแวร์  ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณือิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ  พร้อมทั้งติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือซอฟแวร์ที่ใช้ในการอ่านข้อความต่างๆ  ตัวอย่างเช่น  อิอร์แกไนเซอร์แบบพกพา  พีดีเอ  เป็นต้น  ส่วนการดึงข้อมูล  e - Books  ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่านก็จะใช้วิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่  ลักษณะไฟล์ของ  e-Books  จะสามารถเลือกได้  4  รูปแบบ คือ  Hyper  Text  Markup  Language  (  HTML )   ,  Portable  Document  Format  ( PDF )  ,  Peanut  Markup  Language  ( PML )   และ  Extensive  Markup  Language  ( XML )

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ( e - Library )

        เป็นแหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

คุณลักษณะที่สำคัญของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์มีดังนี้คือ
1.      การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
2.      ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์
3.      บรรณารักษ์หรือบุคคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้  เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้ดดยทางอิเล็กทรอนิกส์
4.      ความสามารถในการจัดเก็บ  รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยผ่านอิเล็กทรอนิกส์




วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิชา  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
Information  and  Communication  Technology  for  Teachers
รหัส  PC54504  3(2-2-5)



คำอธิบายรายวิชา
              ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ   ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เช่น  ไมโครคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  ระบบการสื่อสารข้อมูล  ระบบเน็ตเวิร์ก ระบบซอฟแวร์  การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ  เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ   ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ  ฐานข้อมูลสารสนเทศ  ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง  ฝึกปฏิบัติการ  สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

สารสนเทศ

ความหมายของสารสนเทศ

     สารสนเทศ  หมายถึง  ข่าวสารที่สำคัญเป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น  และจัดทำขึ้นภายในองค์กรต่างๆ  ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์กรนั้นๆ

     สารสนเทศ  ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า  Information  หมายถึงความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า  สารสนเทศเป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ  ทั้งในด้านการที่ได้มาและประโยชน์ที่นำไปใช้ในการปฏิบัติ

     สารสนเทศ  มีความหมายตามที่ได้มีการให้คำจำกัดความที่ใกล้เคียงกัน  ดังนี้
     สารสนเทศ  หมายถึง  ข้อมูลทั้งในด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมวลผล  จัดหมวดหมู่เปรียบเทียบ  และวิเคราะห์แล้วสามารถนำมาใช้ได้  หรือประกอบการพิจารณาได้สะดวกและง่ายกว่า


เทคโนโลยีสารสนเทศ


ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

     เทคโนโลยีสารสนเทศ  หรือ  ไอที  ( IT : Information  and  Communication  Technology )  เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมในยุคปัจจุบัน  มีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ  การประมวลผลและการจัดการแสดงผลสารสนเทศ


องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

     เทคโนโลยีสารสนเทศ  ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก  2  ส่วนคือ  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  และ  เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม  ( Telecommunication  Technology )

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

     คอมพิวเตอร์  จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน  เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการบันทึก  การจัดเก็บ  การประมวลผล  การแสดงผล  และการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศ  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยที่สำคัญได้  2  ส่วน  คือ  เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์  และ  เทคโนโลยีซอฟแวร์

-  เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์  หมายถึง  อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงาน  แบ่งออกเป็น  4  ส่วนคือ
     1. หน่วยรับข้อมูล
2. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู ( CPU : Central Prossesing Unit )
3. หน่วยแสดงผลข้อมูล ( Output Unit )
4. หน่วยความจำสำรอง ( Secondary Storage Unit )


- เทคโนโลยีซอฟแวร์ ( Software )
หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซอฟแวร์ระบบ ( System Software ) หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เคื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ ทำงานตามคำสั่ง

2. ซอฟแวร์ประยุกต์ ( Application Software ) คือชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ


เทคโนโลยสื่อสารโทรคมนาคม


หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบเครือข่ายเคเบิล และระบบสื่อสารอื่นๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน




ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

-     แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4(2520-2524) การมีส่วนร่วมของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
- มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกกษาขึ้น
- ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ก็ได้เห็นมีความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามากขึ้น  
- ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีการจัดทำแผนหลัก เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา

  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติข้างต้น ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการการศึกษาของประเทศไทยมากขึ้น จะทำให้การศึกษาของชาติมีความเท่าเทียมทั่วถึง มีคุณภาพ และมีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า



พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลของข้อมูลของรายการประจำ ( Transaction Processing ) เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางด้านบุคคลากร  
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ นำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมิอช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของผู้ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญ



ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

1. ให้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ



สรุป

การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษามีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่น ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง อินเตอร์เน็ต ก่อให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารงานในสถานศึกษาต่างๆ เช่น ระบบบริหารจัดการห้องสมุด และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษายังช่วยให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา พัฒนาบุคคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี


วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

assignment 1

เทคโนโลยี (Technology)

หมายถึง การประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ เพื่อช่วยในการทำงาน  หรือเป็นการนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ ให้เกิดประโยชน์

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology, IT)

หมายถึง เทคโนโลยีในการประมวลผลสารสนเทศ (คำว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว)ซึ่งก็คือเทคนิควิธีการต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการข้อมูล (ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล) เช่น การจัดเก็บข้อมูล การสื่อสารข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การแสดงผลข้อมูล เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การจัดการข้อมูล เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว และง่ายดายยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาและความก้าวหน้าต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา

เทคโนโลยีการลื่อสาร (Communication  Technology)

หมายถึง เครื่องมือที่นำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน และการสื่อสารข้อมูล และ การสื่อสารไปยังคนคนนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ของข้อมูลที่ส่งไป โดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นช่องทางในการสื่อสาร